NS-SUS บริษัทในเครือ Nippon Steel ในประเทศไทย
คว้ารางวัลระดับโลก อันดับที่ 3 จากงาน Global KAIZEN Award
ในด้านหลักการและแนวทางปฏิบัติ KAIZEN

บริษัท เอ็นเอส-สยามยูไนเต็ดสตีล จำกัด (Mr. Hideki Ogawa เป็นประธานบริษัท) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ Nippon Steel Corporation และเป็นผู้ผลิตเหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี และเหล็กแผ่นเคลือบดีบุกในประเทศไทย คว้ารางวัลอันดับที่ 3 จากงาน Global KAIZEN Award ครั้งที่ 6 รางวัลนี้มอบโดย Kaizen Institute (ก่อตั้งในปี 2528 และมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์) และมอบให้แก่องค์กรต่างๆ ที่มีผลงานโดดเด่นจากการนำหลักการและแนวทางปฏิบัติ KAIZEN ไปใช้จนสัมฤทธิ์ผล NS-SUS เข้าร่วมโครงการแข่งขันรางวัลนี้ในหัวข้อการปรับปรุงงานทั่วทั้งบริษัทโดยวิถี NS-SUS (หรือ “NS-SUS Way”) และได้รับผลลัพธ์ที่ดียิ่งทั้งด้านการผลิต การขาย และหน่วยงานสนับสนุน บริษัทได้รับการจัดอันดับให้เป็นที่ 1 ในรอบการแข่งขันระดับประเทศของประเทศไทย ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567 และได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนของประเทศไทยในรอบการแข่งขันระดับโลก ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายนของปีนี้ ที่ประเทศบราซิล และบริษัทได้รับรางวัลอันดับที่ 3 จากตัวแทนต่างๆ ทั่วโลก 15 ประเทศ (โดยมีบริษัทที่เข้าร่วมทั้งหมดประมาณ 500 บริษัท)

ในรอบการแข่งขันระดับโลก หัวข้อการปรับปรุงงานโดยวิถี NS-SUS (หรือ “NS-SUS Way”) ได้รับผลการตัดสินว่า

  1. ครอบคลุมการจัดการทั้งบริษัทอย่างเป็นระบบและยั่งยืน
  2. มีผลลัพธ์ความสำเร็จที่ชัดเจนในด้านต่างๆ เช่น ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม การบำรุงรักษาเครื่องจักร อุปกรณ์ และการจัดการคุณภาพ โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (DX Technology) และ
  3. มีส่วนสนับสนุนในการสร้างผลกำไรขององค์กรผ่านมาตรการต่างๆ เช่น การเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าและพนักงาน ตลอดจนการลดต้นทุน ผลลัพธ์เหล่านี้ได้รับการตัดสินว่าสอดคล้องกับหลักการ KAIZEN 5 ประการ*1 ของสถาบัน KAIZEN

เบื้องหลังความสำเร็จเหล่านี้คือการปรับปรุงงานโดยใช้แนวทาง TPM*2 ซึ่ง NS-SUS ได้ดำเนินการทั่วทั้งบริษัทมาตั้งแต่ปี 2548 โดยมุ่งเน้นที่การบำรุงรักษาเครื่องจักร อุปกรณ์ การปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน และการถ่ายทอดทักษะระหว่างบุคลากร NS-SUS จะยังคงปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่องด้วยความร่วมมือจากพนักงานระดับจัดการและพนักงานทุกคน และจะมุ่งมั่นต่อไปเพื่อให้บรรลุภารกิจ “มุ่งสร้างประโยชน์เพื่อสังคมและมุ่งมั่นสร้างความสุขเพื่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายขององค์กร”

คุณไชยยันต์ กัลยะนนท์ชัย (กลางขวา ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายนวัตกรรมระบบการบริหารและปฏิบัติงาน) ถือโล่ประกาศเกียรติคุณ และคุณเทียนชัย สุขแสงจันทร์
(กลางซ้าย ผู้จัดการศูนย์ส่งเสริมความเป็นเลิศในการปฏิบัติงาน) ถือประกาศนียบัตร ในพิธีมอบรางวัล (12 พฤศจิกายน 2567 ณ เมืองเซาเปาโล ประเทศบราซิล)

 

*1:หลักการ KAIZEN 5 ประการ ได้แก่:
  • Create customer value (สร้างคุณค่าให้กับลูกค้า)
  • Let it flow (กระบวนการทำงานต้องลื่นไหลไม่ติดขัด)
  • Be Gemba oriented (มุ่งเน้น Gemba ซึ่งหมายถึงหน้างานจริง)
  • Empower people (เพิ่มศักยภาพให้กับพนักงาน)
  • Be scientific and transparent (บริหารงานด้วยข้อมูลและสื่อสารอย่างโปร่งใส) (จากเว็บไซต์ของสถาบัน KAIZEN)

*2:Total Productive Maintenance (TPM) ได้รับการพัฒนาโดย Japan Institute of Plant Maintenance (JIPM)
ซึ่งเป็นโปรแกรมที่พนักงานทุกคนตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงไปจนถึงพนักงานระดับปฏิบัติการเข้าร่วม โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างบริษัทที่มุ่งเน้นประสิทธิภาพสูงสุดในระบบการผลิตโดยยึดมั่นในเป้าหมาย “อุบัติเหตุเป็นศูนย์ ปัญหาคุณภาพเป็นศูนย์ และปัญหาเครื่องจักรขัดข้องเป็นศูนย์”
 
ข้อมูลทั่วไปของ บริษัท เอ็นเอส-สยามยูไนเต็ดสตีล จำกัด

ชื่อนิติบุคคล บริษัท เอ็นเอส-สยามยูไนเต็ดสตีล จำกัด (NS-SUS)
สถานที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ สำนักงานใหญ่
สถานที่ปฏิบัติงาน: มาบตาพุด จังหวัดระยอง
สำนักงานขาย: บางนา กรุงเทพมหานคร
ประเภทธุรกิจ ผลิตและจำหน่ายเหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี และเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก
ทุนจดทะเบียน (บาท) 13,000 ล้านบาท (ประมาณ 56,000 ล้านเยน)
ผู้ถือหุ้น บริษัท นิปปอนสตีล คอร์ปอเรชั่น: 94.9%
บริษัท นิปปอนสตีล เทรดดิ้ง คอร์ปอเรชั่น: 0.3%
บริษัท ไทยทินเพลท เอ็มเอฟจี จำกัด: 4.8%
การผลิต เหล็กแผ่นรีดเย็น: 1 ล้านตัน/ปี
เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีเคลือบจุ่มร้อน: 360,000 ตัน/ปี
เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก: 230,000 ตัน/ปี
จำนวนพนักงาน 1,500 คน โดยประมาณ

บริษัท Nippon Steel Group จะมุ่งมั่นแสวงหาเทคโนโลยีที่ดีที่สุดในโลก ตลอดจนกำลังการผลิต และสนับสนุนความก้าวหน้าของสังคมอย่างต่อเนื่อง ผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ที่องค์การสหประชาชาติประกาศใช้ (“การรับผิดชอบต่อการผลิตและการบริโภค”)